เว็บไซต์นี้
จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหานี้ และอยากให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปรับตัวไปด้วยกัน
แนะนำใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้น
เริ่มกันเลยปัญหาที่ทุกคนยังคงมองข้าม
สภาพอากาศทั่วโลกร้อนขึ้น และน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
อากาศแปรปรวนบ่อย ๆ หลายครั้งที่เรามักจะรู้สึกว่า
ฤดูหนาวบ้านเรา แต่ทำไมกลางวันแดดร้อนจนแทบไหม้
รู้ไหมว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือเหตุการณ์ที่เรียกว่า....
“สภาวะโลกร้อน”
(Global Warming)
ที่เกิดจากอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น จนทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ซึ่งเป็นปัญหาทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ หลายองค์กรจึงเริ่มให้ความสนใจ
แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืออะไร ?
อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ในปี 2021
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น
เป้าหมายลดอุณหภูมิ ภายในปี 2050
คือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะยาวที่เกิดขึ้นช่วงปีที่ผ่านมา และอาจนานกว่านั้น
เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่
อากาศเฉลี่ย (average weather)
ในพื้นที่หนึ่ง เช่น อุณหภูมิ ลม ฝน ที่มาจากความผันแปรตามธรรมชาติ
รวมไปถึง
กิจกรรมของมนุษย์
โดยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
จากการรายงานของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ระบุว่า ภายในปี 2040 อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก และจะต้องรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในทุกๆ ปี
สภาวะโลกร้อนนั้น เกิดจากการมีก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น ก๊าซเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก หรือ “Green House Effect” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาความสมดุลของโลก
ปกติแล้วโลกของเรานั้นถูกห่อหุ้มไปด้วยชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า “Greenhouse” เป็นชั้นก๊าซที่ช่วยดูดกลืนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพื่อไม่ให้โลกรับรังสีความร้อนในปริมาณที่มากเกินไป และทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวโลกขึ้นมา
หากไม่มีก๊าซเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นเกินไปส่งผลต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่เมื่อมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินความสมดุล ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกหรือ “Green House Effect” มีมากเกินสมดุล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนมากขึ้น
ส่งผลให้เกิดฤดูหนาวสั้นลง รูปแบบของฝนและอุณหภูมิเปลี่ยนไป วัฎจักรของน้ำ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่า โลกร้อนทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง
จากการรายงานของ IPCC ฉบับที่ 6
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2021 ระบุว่า
“อิทธิพลของมนุษย์ ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร
และผืนดินอุ่นขึ้น”
มนุษย์นั้นเป็นตัวขับเคลื่อนหลักร้อยละ 90 ในการละลายของธารน้ำแข็งทั่วโลก
ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 รวมถึงการลดลงของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกด้วย
เหตุผลที่บอกว่ามนุษย์เป็นสาเหตุหลักของปัญหานี้ นั่นเป็นเพราะว่า
การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทำให้เกิดภาวะโลกร้อนส่งผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
และเกิดการระเหยของน้ำเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของภาคอุตสาหกรรมหรือการใช้ทรัพยากรมากไป
สาเหตุเหล่านี้จะส่งผลกระทบทางกายภาพอีกหลายประการเลยทีเดียว
มีความเสี่ยงที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นที่จะนำไปสู่การเกิดสภาพ ภูมิอากาศแบบสุดขั้ว หรือ Extreme Weather Event เป็นเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น คลื่นความร้อนที่รุนแรง ภัยแล้ง พายุเฮอริเคน และ อุทกภัย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
แม้แต่การละลายของน้ำแข็งยังสามารถทำให้โลก แปรปรวนไม่น้อยนัก อย่างการเกิดการละลายของน้ำแข็ง ในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้งคุกคามอีกหลาย พันล้านชีวิตและมีส่วนเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในครั้งนี้
มีการละลายของหิมะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทำให้ส่งผล กระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล การควบคุมวิกฤตการณ์อุทกภัยและพายุเป็นไปได้ยาก เกิดน้ำทะเลอุ่นขึ้นที่เกิดจากมหาสมุทร ดูดซับความร้อนถึง 90 % จากอากาศโดยรอบ
แต่เนื่องด้วยความร้อนที่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ความร้อนเข้าถึงน้ำทะเลในระดับลึกได้ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ แนวประการัง พืช สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ได้และอาจจะรวมถึงคุณภาพน้ำก็แย่ลงจากการปนเปื้อนของสารเคมีด้วย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เกษตรกรรมมีความสำคัญต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของทั้งโลก ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง หากอุณหภูมิสูงขึ้น สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ มากขึ้น ห่วงโซ่อาหารพังทลาย ส่งผลกระทบโดยกว้าง แหล่งอาหารสำคัญต่อการดำรงชีวิตก็ลดลง
ระบบเศรษฐกิจย่ำแย่จากราคาเนื้อสัตว์และผักที่แพงขึ้น เท่าตัว หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศ ที่ยากจน เช่น ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกา เอเชียและ มหาสมุทรแปซิฟิคที่มีความสามารถน้อยที่สุด ในรับมือ กับภาคการเกษตรที่ตกต่ำรวมถึงการแพร่กระจาย ของโรคระบาดอีกด้้วย
ปัจจุบันปัญหานี้ส่งผลกระทบระดับโลก และอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงร่วมกันเข้าการประชุมในนาม Conference of the Parties : COP เพื่อหาวิธีแก้และตั้งเป้าในการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ร้ายแรง เพราะ "มีความเสี่ยงสูงที่สภาพอากาศจะควบคุมไม่ได้ เกินกว่าที่เราจะปรับตัวเข้ากับมันให้ทัน"
สำหรับ COP26 ในปี 2020 ได้มีการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ รวมไปถึงการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ในข้อ 13 ที่ว่าด้วย "Climate Action การดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ"
ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหานี้
ไม่ใช่เพียงแค่ระดับผู้นำระดับโลกหรือระดับองค์กรเท่านั้น
แต่ต้องเป็นคนทุกระดับชั้นทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไขปัญหา
และรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
หากมีแรงสนับสนุนจากประชาชนทุกคน
ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาสภาพภูมิอากาศได้ด้วยวิธีง่ายๆ
ติดตั้งโซลาร์เซล์ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดกระบวนการ CO2 จาก การสร้างพลังงานอื่นๆ
การผลิตน้ำเป็นขั้นตอนที่ใช้พลังงานจำนวนมาก ควรใช้เท่าที่จำเป็น และใช้อย่างคุ้มค่า
เลือกซื้อรถที่ประหยัดน้ำมัน เลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือเลือกขี่จักรยาน/เดินเท้า ในระยะทางที่ไม่ไกลมาก
วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ใช้ พลังงานน้อยกว่าและทำให้ เกิดมลพิษน้อยลง
เป็นวิธีกำจัดขยะแบบง่ายๆ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซ และช่วยปกป้องดินได้ด้วย
เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วย ดูดซับคาร์บอนออกจากอากาศ และช่วยรักษาสภาพอากาศ ให้คงที่ ช่วยลดโลกร้อนได้
ให้ผู้คนนึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยประหยัดพลังงานและลดโลกร้อน
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รหัสนักศึกษา 61080500234
อาจารย์ณัฐพงษ์ ประเสริฐสังข์
รหัสนักศึกษา 61080500291